ยังจำได้เมื่อ 3 ปีที่แล้วที่ได้มีโอกาสบรรยายใหม่ๆ มีสาวน้อยคนหนึ่งมาถามว่า “ถ้าหนูมาเรียนสมาธิ หนูจะลืมเรื่องที่ไม่อยากจำได้ไหม” พอได้ยินคำถามก็พอเดาถูกว่าเป็นเรื่องอะไร ผมจึงบอกน้องเขาไปว่า “ถ้าเราเข้าใจ เราอาจจะไม่ต้องไปบังคับใจเราให้ลืมก็ได้”
เรื่องนี้มันขึ้นอยู่กับกำลังของใจ ถ้าใจเข้มแข็ง มีสติ รู้ทัน ก็จะลุกขึ้นได้เร็ว ถ้าใจอ่อนแอ เราก็อาจจะล้มอยู่แล้วไม่ยอมลุก
บางครั้งมุมมองที่แตกต่างอาจทำให้ลุกได้เร็วขึ้น อย่าไปพยายามคิดว่าทำไมเราจึงล้ม แต่หาเหตุผลสักอย่างที่บอกตัวเราว่า ทำไมเราต้องลุก
แน่นอนครับ เรื่องนี้พูดง่าย แต่ทำยาก ใครไม่เคยเจอกับตัวก็ไม่รู้ แม้แต่คนที่ให้ข้อคิดกับคนอื่นได้ เมื่อเจอเข้ากับตัวเอง ถ้าตนไม่มีพลังจิตหรือกำลังใจที่พอเพียงก็อาจลุกไม่ขึ้นเหมือนกัน
ปัญหาบางปัญหา เราต้องแก้ทันที
ปัญหาบางปัญหา เราต้องค่อยๆแก้
ปัญหาบางปัญหา เราต้องหาวิธีการแก้ในอนาคต
ปัญหาบางปัญหา เราต้องวางเฉย และปล่อยผ่านไป
ปัญหาบางปัญหา เราแก้ไม่ได้ ต่อให้เทวดาก็แก้ไม่ได้
แต่ปัญหาทุกปัญหา เราต้องเข้าใจ ส่วนจะแก้อย่างไร เมื่อไหร่ แก้ได้หรือไม่ได้ ก็ตามความเหมาะสม
วันปีใหม่ มีไว้ทำไม หลายๆคนให้ความสำคัญกับวันปีใหม่มาก แต่วันปีใหม่ที่หลายคนให้ความสำคัญ อาจไม่มีความหมายเลยในสายตาของคนอีกหลายคน เช่น วันปีใหม่ไทย อาจไม่มีความหมายเลยสำหรับคนชาติตะวันตก วันปีใหม่จีน อาจไม่มีความหมายเลยสำหรับคนตะวันออกกลาง จริงๆแล้ววันปีใหม่ก็คือวันธรรมดาๆวันหนึ่งที่เราสมมุติขึ้นมาจริงๆไหมครับ
เรามีวันปีใหม่เพื่ออะไร
หลายคนมักจะตอบว่า เรามีวันปีใหม่เพื่อการเฉลิมฉลอง เพื่อเริ่มต้นทำอะไรใหม่ๆ เพื่อ… เยอะแยะ แต่โดยมากก็มักจะเป็นอะไรดีๆเพื่อให้ชีวิตตลอดทั้งปีดีขึ้นจริงไหมครับ
ในทัศนะของผม วันปีใหม่ก็เหมือนการครบรอบ ครอบรอบอีก 1 ครั้ง ในชีวิตคนทั่วๆไป การครบรอบแบบนี้ก็มักไม่เกิน 100 ครั้ง อาจมีบ้างบางคนที่เกิน 100 ครั้ง แต่ก็คงมีไม่มาก
การครบรอบแต่ละครั้งคงมีความหมายมากกว่าการที่เวลาผ่านไป 1 ปี เราเคยลองทบทวนดูหรือเปล่าครับว่าในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาของเราเอง เราได้ทำอะไรไว้บ้าง ทำสิ่งดีหรือสิ่งไม่ดีมากกว่ากัน สร้างสรรค์หรือทำลายมากกว่ากัน เราเคยประเมินตัวเองหรือเปล่าครับ
จริงๆแล้วหลายๆอย่างรอบตัวเราก็เป็นรอบแบบนี้นะครับ เช่น การทำงานของลูกจ้างทั้งเอกชน และข้าราชการ เมื่อครบ 1 ปี ก็จะมีการประเมินว่ามีผลงานแค่ไหน การดำเนินกิจการของบริษัทห้างร้าน เมื่อครบ 1 ปี รัฐก็จะให้ประเมินว่า ขาดทุนหรือกำไร ควรจะอยู่ต่อหรือไม่
การประเมินตัวเรามีหลายมิติครับ เช่น
– ความเป็นอยู่ เราทำงานผ่านไป 1 ปี ปีนี้ชีวิตเราดีขึ้นหรือไม่ ความเป็นอยู่ดีขึ้นหรือไม่
– ความรู้/ความสามารถ ผ่านไป 1 ปี เรามีความรู้ความสามารถอะไรเพิ่มขึ้นบ้าง เรามีปัญญาเพิ่มหรือไม่ หรือเราไม่ยอมเรียนรู้อะไรเพิ่มเลย และชีวิตก็มีแต่ปัญหา
– ฐานะทางการเงิน ผ่านไป 1 ปี เรามีทรัพย์สินมากขึ้น มีเงินเหลือเผื่อฉุกเฉิน มีเงินเหลือสำหรับลงทุนในอนาคต หรือ เรามีหนี้สินเพิ่มขึ้น
– ความเจริญ/การสร้างสรรค์ ผ่านไป 1 ปี เราสร้างผลงานหรือสิ่งดีๆอะไรไว้ให้กับโลกบ้าง หรือเราเกิดมาเพียงเพื่อมาใช้ทรัพยากรของโลก
– ความดี ผ่านไป 1 ปี เราสร้างความดีอะไรให้ตัวเอง ให้คนรอบข้าง หรือให้สังคมบ้าง หรือ เพียงแต่ถามว่าคนอื่นทำอะไรให้เราบ้าง
เวลาผ่านไปช่างรวดเร็วนัก อย่ารอให้ถึงวันที่เราไม่มีเวลาเหลือ อย่าให้เวลาผ่านไปจนถึงวันหนึ่งค่อยรู้ว่า เราทิ้งสิ่งที่มีค่าที่สุดของเราคือเวลาไปอย่างเปล่าประโยชน์ และไม่ได้สร้างอะไรดีๆให้กับตนเอง ให้สังคม และให้โลกนี้เลย
บางครั้งก็ถืงเวลาที่เราต้องคิด และเปลี่ยนแปลง!
ความเป็นอยู่ของเราในปัจจุบันถูกกำหนดโดยความคิดและการกระทำของเราในอดีต (อยากจะบอกว่า ทุกการกระทำ ไม่ว่าตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ไม่ว่าเราคิดว่าจะมีคนอื่นรับรู้หรือไม่) และแน่นอนครับ ความคิดและการกระทำของเราในวันนี้ก็จะเป็นตัวกำหนดอนาคตของเราเช่นกัน
อนาคตเป็นของเรา เราเป็นผู้ลิขิต ดีชั่วก็อยู่ที่ตัวเรา เราเป็นผู้เลือกครับ
** วันนี้ คุณนั่งสมาธิ แล้วหรือยัง **
** กว่า 1,000 วัน จากวันนั้นถึงวันนี้ **
วันนี้ เมื่อ 3 ปีที่แล้ว เป็นครั้งแรกที่ผมตื่นมานั่งสมาธิตอนหัวรุ่งช่วง 04.00 – 05.00 น. ด้วยการชักชวนของ อ.ชิราวุธ กรจรุงเกียรติ ในการบรรยายเรื่องอัตถสาสมาธิ (การทำสมาธิในช่วงโอกาสทอง) ผมได้ตั้งสัจจะวาจาร่วมกับเพื่อนๆในห้องเรียนว่าจะตื่นมาปฎิบัติร่วมกัน ด้วยความไม่มั่นใจและไม่อยากผิดวาจา จึงขอตั้งสัจจะเพียงวันเดียวก่อน เพราะคิดว่าการตื่นเช้าสำหรับเรานั้นเป็นไปไม่ได้
จากวันเดียว ถึงวันนี้มากกว่า 1,000 วันแล้วที่ผมได้นั่งสมาธิทุกวัน น้อยบ้าง มากบ้าง ขยันบ้าง ขี้เกียจบ้าง แต่ไม่เคยขาด เพราะรู้แล้วว่าสมาธิมีประโยชน์ขนาดไหน
เมื่อวานมีโอกาสได้บรรยายเรื่อง อัตถสาสมาธิ และมีนักศึกษาจำนวนมากตั้งสัจจะวาจาว่าจะตื่นเช้ามาทำสมาธิด้วยกัน ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป และขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยครับ
ขอขอบคุณ และขออนุโมทนาบุญกับ พระอาจารย์ ครูบาอาจารย์ทุกท่าน ที่ทำให้พวกเราพบแสงสว่างดังเช่นวันนี้
นั่งสมาธิ วัดธรรมมงคล ระหว่างการอบรมอาจาริยสาสมาธิ รุ่น 7/1
เด็กๆ เหมือนกระจกบานใหญ่ที่ส่องครอบครัวของเรา จริงหรือเปล่า?
– ถ้าเด็กร่าเริง มีความสุข ก็คงมาจากครอบครัวที่อบอุ่น มีความสุข
– ถ้าเด็กหดหู่ หวาดระแวง เก็บกด ก็อาจจะมาจากครอบครัวที่มีปัญหา
เราคงต้องหันมามองกระจกบานใหญ่ของเราบ้าง ว่าตัวเราเองหรือครอบครัวของเราเป็นอย่างไร มองจากเด็กๆที่เป็นผลลัพธ์โดยตรงของการกระทำต่างๆของเราและคนในครอบครัวของเรา บางครั้งเขาก็สุข บางครั้งเขาก็ทุกข์ เพราะใคร
มาร่วมกันทำให้ทุกครอบครัวมีความสุขฉลองปีใหม่ และตลอดไปครับ
ขอบคุณ อ.จีระสิทธิ์ ถิรวิริยาภรณ์ ที่แบ่งปันประสบการณ์ในการบรรยาย ยุวสาสมาธิ 26/12/2013
จริงๆการที่คนหนึ่งเป็นผู้นำได้ ก็เพราะมีผู้ตาม ใช่ไหมครับ
.. ถ้าเดินนำไปคนเดียว ไม่มีคนตาม ไม่เรียกผู้นำ แต่เป็นการเดินเดียวดาย
จริงๆของจริงๆ จริงที่สุดคือ เราได้เดินไปพร้อมกันต่างหาก
.. ผู้นำคือผู้ที่ทำให้ทีมเดินไปพร้อมกัน สู้เป้าหมายเดียวกัน เป็นตัวแทน เป็นผู้รวบรวมความคิด เป็นผู้รวมใจของทีม เป็นผู้ที่มีผู้ไว้วางใจให้ตัดสินใจ ในบางโอกาส
ขอแนะนำบริการรถเช่าคุณภาพดี บริการเยี่ยม จากเพียวคาร์เร้นท์ครับ
เพียวคาร์เร้นท์ (Pure Car Rent) ขอต้อนรับฤดูกาลท่องเที่ยว ปี 2556
ด้วยโปรโมชั่น สำหรับการเช่ารถ
Group B – Toyota Vios/ Honda City / Honda Jazz (เกียร์อัตโนมัติ)
เพียง 1200 บาท/วัน (สำหรับการเช่า 3 วันขึ้นไป)
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมที่ เว็บ เพียวคาร์เร้นท์ – รถเช่า ภูเก็ต
-
-
รถเช่า-ฮอนด้า แจ๊ส
-
-
รถเช่า-ฮอนด้า ซิตี้
-
-
รถเช่า-โตโยต้า วีออส
ทุกคนมีทั้งส่วนดี และส่วนไม่ดี
* คนอื่นที่ไม่ดี ก็มีส่วนดี
* ตัวเราเองที่คิดว่าดี ก็มีส่วนไม่ดี
แน่นอนครับ คนทำดีย่อมได้ดี คนทำชั่วย่อมได้ชั่ว เป็นไปตามกฏแห่งกรรม แต่การที่ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฏแห่งกรรม มิได้หมายความว่าให้เราวางเฉยในสิ่งผิด เมื่อคนทำผิดเขาต้องได้รับกรรม และบทลงโทษ ไม่มีใครละเว้นโทษจากกรรมที่เกิดขึ้นได้ คนทำผิดควรได้รับโทษ เมื่อรับโทษแล้ว เมื่อสำนึกในความผิดแล้ว เราจึงควรให้อภัย และให้โอกาสเขากลับตนเป็นคนดีในลำดับต่อมา
ลูก: “พ่อครับ พ่อครับ เขาว่าผมเป็นหมา”
ลูก: “พ่อครับ พ่อครับ เขาว่าผมเป็นควาย”
พ่อ: “แล้วลูกเป็นอย่างที่เขาว่าหรือเปล่าล่ะ”
ลูก: “เปล่าครับ”
พ่อ: “ถ้าไม่เป็นเรื่องจริง แล้วเราไปสนใจทำไมล่ะ เดี๋ยวเขาเหนื่อยเขาก็หยุดเอง”
เราเคยสอนลูกสอนหลานของเราอย่างนี้หรือเปล่าครับ ผมก็สอนลูกของผมแบบนี้เหมือนกัน ถ้าเราไม่ได้เป็นอย่างที่เขาว่าเราก็ไม่ต้องไปใส่ใจ แต่ถ้าเราเป็นอย่างที่เขาว่า ถ้ามีอะไรที่เราทำไม่ดี เราก็ปรับปรุงแก้ไข จริงไหมครับ
แล้วตัวเราเองล่ะ เราทำยังไงเมื่อเราโดนด่าโดนว่า บางครั้งเราก็เต้น บางครั้งเราก็โกรธในสิ่งที่เขาว่าเราใช่ไหม ถ้าเรากลับมาใช้สติ ถามตัวเองว่าที่เขาด่าเราจริงไหม ถ้าไม่จริงก็ไม่ต้องสนใจ ถ้าจริงเราก็ใช้โอกาสนี้แก้ไขตัวเองให้ดีขึ้น แค่นี้ก็จบ จริงไหมครับ
สอนคนอื่นนั้นง่าย แต่สอนตัวเองเตือนตนเองนั้นยากจริงไหมครับ จริงๆสิ่งที่ยากที่สุดคือทำอย่างไรให้เรามีสติรู้ทัน …. สมาธิคือคำตอบครับ
การที่พวกเราไปบรรยายธรรมะ ไปเป็นพี่เลี้ยง ต้องเสียทั้งเวลา เสียทั้งแรงกาย แรงใจ เสียเงินค่าเดินทาง ค่ากินอยู่ หากคิดเหมือนคนทั่วไป คิดความสำเร็จในกิจการหนึ่งๆเป็นตัวเงินแล้ว พวกเราก็เหมือนคนโง่ เพราะเป็นการลงทุนที่ขาดทุนโดยสิ้นเชิง
แต่หากท่านที่เคยสัมผัสธรรมะที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า ท่านก็จะรู้ว่า พวกเรากำลังทำสิ่งที่มีค่าที่สุดสิ่งหนึ่งที่ยากที่จะหาอะไรมาเปรียบ ธรรมะที่ช่วยแก้ไขชีวิตคน จากชั่วเป็นดี จากดีให้ดียิ่งขึ้น ธรรมะที่ช่วยแก้จากดำเป็นขาว จากคว่ำเป็นหงาย จากมืดเป็นสว่าง จากไม่รู้เป็นรู้ ถ้าท่านได้เห็นคนมากมายที่ได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากหลักธรรมที่ง่ายๆธรรมดาๆ ท่านจะรู้ว่าเรากำลังทำสิ่งที่ยากที่จะหาสิ่งใดมาเปรียบจริงๆ
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่ร่วมเผยแผ่ธรรมะเพื่อความสงบสุขของโลก